จากสถานการณ์ COVID-19 อาจมีผลกระทบทางบัญชีจำนวนมากต่อกิจการที่มีบริษัทย่อย การดำเนินงานการลงทุนหรือการร่วมค้าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด หน่วยงานที่มีผู้จัดจำหน่ายหรือลูกค้าที่สำคัญในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด รวมถึงหน่วยงานที่มีธุรกรรมการให้กู้ยืมหรือการกู้ยืมจากหน่วยงานในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสอาจประสบปัญหาทางบัญชี
Author Archives: pwlconsultingservices
สรุปความแตกต่างของ Accounting Software กับ Consolidation Software
เมื่อโลกยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนไปอย่างมาก หลากหลายองค์กรมีการพัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว (ทั้งการลงทุน/ซื้อในบริษัทอื่น และมีบริษัทในเครือจำนวนมาก) อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ digitization มากขึ้น ดังนั้นจะดีกว่ามั้ย หากว่าองค์กรนำ consolidation software มาช่วยในการทำงบการเงินรวมของบริษัท เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการได้มาซึ่งตัวเลขงบการเงินรวม เพื่อใช้ในประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร
มาเปลี่ยน คำว่า “งบการเงินรวม” ที่แสนจะ “ยาก” ให้กลายเป็นคำว่า “ง่าย” โดยพริบตาเดียว
เชื่อว่าหลายๆ คน พอได้ยินคำว่า “งบการเงินรวม” แล้วก็จะกลัว คิดว่ายากบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง หลายครั้งที่พอพูดถึงเรื่องนี้ ส่วนใหญ่แล้วทุกคนจะบอกว่ายากมาก ไม่เข้าใจ เนื่องจากว่างบการเงินรวมนั้นเป็นการบัญชีขั้นสูง ซึ่งก็มีความยากในระดับนึงที่หลายๆ คนไม่ค่อยชอบ และไม่เข้าใจ แต่ในวันนี้เราจะมาเปลี่ยน Mindset ของทุกๆ คน ให้มองคำว่า “งบการเงินรวม” เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น การที่ผู้ถือหุ้น หรือ คนที่ใช้งบการเงินรวมนั้นมองมาที่บริษัท ที่มีบริษัทในเครือจำนวนมากนั้น ก็คงอยากจะเห็น performance ของกลุ่มบริษัทในเครือนั้นจริงๆ ดังนั้นหลักการของงบการเงิน ก็คือการนำเอา performance ของกลุ่มบริษัทในเครือนั้นๆ มารวมแสดงในงบการเงินรวม แต่หากว่าต้องตัดพวกรายการที่เกี่ยวข้องกันออกให้หมด เพื่อที่เวลาแสดง performance หรืองบการเงินรวมนั้น จะได้เป็นตัวเลขที่ถูกต้องจริงๆ ไม่ได้เป็นเลขที่ double กันไปมาระหว่างบริษัท แต่ถ้าหากไม่ตัดรายการระหว่างกันพวกนั้นออกหล่ะก็ อาจจะทำให้แสดงรายการบางประเภทที่สูงเกินความเป็นจริงได้ ยกตัวอย่าง ครอบครัวนึง ที่ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และ ลูก โดยรายได้หลักมาจากพ่อที่ทำงานประจำ แม่ไม่มีรายได้ และ ลูกมีรายได้จากพ่อให้รายเดือน หากจะดู performanceContinue reading “มาเปลี่ยน คำว่า “งบการเงินรวม” ที่แสนจะ “ยาก” ให้กลายเป็นคำว่า “ง่าย” โดยพริบตาเดียว”
คุณเคยฝันร้ายเกี่ยวกับ Excel หรือไม่ ?
เคยมั้ยที่มีข้อมูลมากมายอยู่บน Excel หลายๆ spreadsheet อีกทั้งเราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อมูลนั้น update หรือไม่? มีคน edit หรือ delete ข้อมูลนั้นไปหรือยัง? หรือว่าเวลาทำงานบน Excel ที่มีข้อมูลจำนวนมากแล้ว file error และปิดตัวลงแบบที่ยังไม่ได้ save the latest version การทำงานบนข้อมูลที่มากขึ้นทุกวันมักมีข้อจำกัดบน Excel อาจจะทำให้มี error หากไม่มีการจัดการ และ ควบคุมที่ดีพอ นำมาซึ่งการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ อีกทั้งการทำงานบน Excel อาจจะใช้เวลามากกว่าเมื่อเทียบกับทำงานแบบ automated by system ซึ่งคุณจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันท่วงทีในการนำเสนอต่อผู้บริหารในการตัดสินใจบางอย่างได้ Excel ยังมีปัญหาอีกมากมาย องค์กรอาจจบลงด้วยฝันร้ายของ Excel ! เชื่อว่าที่ผ่านมา เกือบๆ ทุกบริษัทได้มีการลงทุนใน ERP หรือ ระบบ Core Business ต่างๆ เช่น CRM ซึ่งบริษัทเหล่านั้นจะมีจำนวนข้อมูลจำนวนมากมายอยู่แล้ว และในยุคปัจจุบันContinue reading “คุณเคยฝันร้ายเกี่ยวกับ Excel หรือไม่ ?”
Cloud คือ อะไร
“Cloud” หรือที่ย่อมาจาก “Cloud Computing (การประมวลผลระบบคลาวด์)” คือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Host บริการผ่านอินเทอร์เน็ต (internet) ช่วยให้ผู้ใช้งาน (user) สามารถ จัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการ และ จัดการข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาจมีค่าใช้จ่ายบางส่วนขึ้นอยู่กับขนาดและระบบของ Host ออนไลน์โดยมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่มาก เมื่อคุณอัพโหลดข้อมูลไปยัง Cloud ผ่านเซอร์วิสต่างๆ (เช่น OneDrive) ไฟล์ของคุณจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังเซอร์เวอร์ที่จับต้องได้ และมีอยู่จริง ซึ่งเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ Cloud นั้น ซึ่งมีจำนวนหลายเครื่อง เพื่อให้บริการจัดเก็บข้อมูลทั้งโลก ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า Server Farms ดังนั้น พูดง่ายๆก็คือ Cloud เป็นกลุ่มเครื่อง Server และ ศูนย์ข้อมูลเพื่อให้บริการเก็บข้อมูลรอบโลก โดยพื้นฐานคือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิตอล ที่คุณสามารถเก็บไฟล์งานต่างๆ ได้ โดยแตกต่างไปจาก Storage รูปแบบอื่นๆ (เช่น External Harddisk, FlashdriveContinue reading “Cloud คือ อะไร”
ปัจจัยในการพิจารณาการลงทุน software สำหรับองค์กร
ในการเลือกลงทุนในเทคโนโลยีอันใดอันหนึ่ง สิ่งที่กิจการควรให้ความสำคัญนอกเหนือจากเรื่อง feature & function ที่เห็นแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาไปพร้อมกัน ประกอบไปด้วย 1. แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะยาว: โดยปกติ บริษัท software ส่วนใหญ่จะมีแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะ 3-5 ปี ว่าผลิตภัณฑ์จะมีพัฒนาปรับปรุงต่อหรือไม่ และไปในทิศทางใด (on-premise or on-cloud) บางบริษัทเน้นพัฒนาและทำการตลาดในด้านใดด้านนึงเป็นหลัก หรือ การพัฒนา technology ใน 2 ส่วนนี้ไปกันคนละทาง(บางครั้งบน platform เดียวกัน ก็มีการพัฒนา version ใหม่ไปในทางใหม่, technology ใหม่ เช่นกัน) จนบางครั้งอาจลืมคำนึงถึงหากวันนึงลูกค้าต้องการเปลี่ยน platform เช่น จาก on-premise ไป SaaS หรือแม้แต่การ upgrade บน platform เดิมแต่ technology มีการเปลี่ยนไป ก็อาจสร้างความยุ่งยากให้กับลูกค้ารวมถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับลูกค้าเช่น ต้องลงทุนในเครื่อง server, software อื่นที่เกี่ยวข้องContinue reading “ปัจจัยในการพิจารณาการลงทุน software สำหรับองค์กร”