Accounting – ผลกระทบของ COVID-19 ในการรายงานทางการเงินและการเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

จากสถานการณ์ COVID-19 อาจมีผลกระทบทางบัญชีจำนวนมากต่อกิจการที่มีบริษัทย่อย การดำเนินงานการลงทุนหรือการร่วมค้าในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด หน่วยงานที่มีผู้จัดจำหน่ายหรือลูกค้าที่สำคัญในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด รวมถึงหน่วยงานที่มีธุรกรรมการให้กู้ยืมหรือการกู้ยืมจากหน่วยงานในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสอาจประสบปัญหาทางบัญชี

นอกจากนี้การรายงานผลกระทบทางการเงินที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะหน่วยงานหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยตรงที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 แต่อาจเกี่ยวโยงกับกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกันทางอ้อม เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่กว้างขึ้นของสถานการณ์ COVID-19 ต่อตลาดการเงินจึงอาจเหมาะสมที่กิจการต้องพิจารณาผลกระทบการแพร่กระจายของโรคระบาดในการรายงานทางการเงินและการเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินซึ่งอาจสรุปได้ดังต่อไปนี้

  • การด้อยค่าของสินทรัพย์ (รวมถึงค่าความนิยม)
  • การประเมินค่าและการด้อยค่าของลูกหนี้ เงินให้กู้ยืมและเงินลงทุน
  • การประเมินมูลค่าสินทรัพย์และภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้
  • ความเสียหายและผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น
  • การชดเชยสินค้าคงเหลือและการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในสัญญาที่ให้กับลูกค้า
  • ภาระผูกพันตามสัญญา
  • สวัสดิการพนักงานและผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง
  • การดำรงอยู่ของกิจการ
  • เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน
  • การได้รับเงินชดเชยจากการประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับการหยุดชะงักทางธุรกิจ
  • สัญญาเช่า


การรับรู้ผลกระทบทางบัญชี ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงและสถานการณ์เฉพาะของแต่ละกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายที่ไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม การรายงานทางการเงินที่จะมีผลกระทบทางบัญชีที่เป็นสาระสำคัญต่อการลดลงของมูลค่าของสินทรัพย์ของกิจการ อาจมีเรื่องดังต่อไปนี้

การด้อยค่าของค่าความนิยม กิจการต้องนำผลกระทบของสถานการณ์ COVID-19 ไปทดสอบการด้อยค่าของค่าความนิยม โดยนำสถานการณ์ COVID-19 มาเป็นปัจจัยในการพยากรณ์ทางการเงิน ผลการดำเนินงานทางการเงินรวมถึงประมาณการกระแสเงินสดในอนาคตซึ่งอาจได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หากเหตุการณ์เกิดขึ้นหรือสถานการณ์เปลี่ยนไปมีแนวโน้มค่อนข้างเป็นไปได้ (More Likely Than Not) ที่ทำให้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชี

การด้อยค่าของสินทรัพย์ถาวร กิจการต้องประเมินว่าสินทรัพย์ถาวรที่มีอายุการใช้งานระยะยาวหรือกลุ่มของสินทรัพย์มีข้อบ่งชี้การด้อยค่าหรือไม่ เมื่อมีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์บ่งชี้ว่ามูลค่าตามบัญชีอาจมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ (Recoverable Value)เมื่อทำการประเมินนี้กิจการควรพิจารณารวมถึงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญในราคาตลาดของสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานระยะยาว การเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้งานในระดับนัยสำคัญของสินทรัพย์

การประเมินค่าและการด้อยค่าของลูกหนี้ เงินให้กู้ยืมและเงินลงทุน เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในตลาดการเงินตกต่ำในหลายพื้นที่ กิจการควรพิจารณาถึงผลกระทบของความผันผวนอย่างมีนัยสำคัญในมูลค่าการลงทุนและประเมินการด้อยค่า การลงทุนที่อาจได้รับผลกระทบ ได้แก่ ตราสารทุนและตราสารหนี้ที่ออกโดยกิจการที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและอาจรวมถึงการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ นอกจากนี้เหตุการณ์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอาจทำให้เกิดความผันผวนเพิ่มเติมในตลาดโลกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อมูลค่ายุติธรรมของการลงทุนที่ไม่ได้เชื่อมโยงโดยตรงกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (เช่น การกระจายเครดิตอาจเพิ่มขึ้นหรือความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาอาจได้รับผลกระทบ) การเลือกรูปแบบการด้อยค่าที่เกี่ยวข้องของกิจการรวมถึงข้อควรพิจารณาในการประเมินมูลค่าลูกหนี้ ลูกหนี้เงินให้กู้ยืม และการลงทุนขึ้นอยู่กับการจัดประเภทของตราสารตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 9 เครื่องมือทางการเงิน

สัญญาเช่าระยะยาว ผลกระทบสถานการณ์ COVID-19 อาจทำให้ผู้ให้เช่าและผู้เช่าอาจตัดสินใจปรับเปลี่ยนเงื่อนไขของสัญญาเช่า ในสถานการณ์เช่นนี้ผู้เช่าและผู้ให้เช่าควรพิจารณาว่าการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขสัญญาเช่านี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของข้อกำหนดและเงื่อนไขดั้งเดิมของสัญญาเช่าหรือไม่ ตัวอย่างเช่น การเพิ่ม ลด ขยายหรือยกเลิกสิทธิในการใช้สินทรัพย์ สัญญาเช่าที่ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นการแยกต่างหากจากสัญญาเช่าเดิมหรือเป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาเช่าที่มีอยู่เดิม

รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ภายใต้มาตรฐาน TFRS 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้าการวัดค่าตอบแทนเป็นรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า โดยทั่วไปเงื่อนไขค่าตอบแทนเป็นรายได้นั้นมีค่าตอบแทนคงที่ ค่าตอบแทนผันแปร หรือมีทั้งสองแบบ ในกรณีสัญญาค่าตอบแทนที่เป็นรายได้ผันแปร (Variable Consideration) กิจการต้องประมาณการค่าตอบแทนผันแปรและรับรู้เป็นรายได้ตลอดอายุของสัญญาค่าตอบแทนผันแปรนั้นเป็นส่วนลดการคืนเงินเมื่อยอดซื้อถึงเป้าการให้คะแนนสะสมการซื้อ การลดราคา หรือโบนัสเพื่อเป็นแรงจูงใจการตัดสิทธิ์ หรือรายการอื่นที่คล้ายคลึงกัน ค่าตอบแทนผันแปรที่รับรู้เป็นรายได้อาจแตกต่างจากที่ประมาณการไว้หากสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนตามสัญญาของกิจการนั้นขึ้นอยู่กับความไม่แน่นอนของการเกิดขึ้น หรือการไม่เกิดขึ้นของเหตุการณ์ในอนาคต ดังนั้น ค่าตอบแทนผันแปรที่รับรู้เป็นรายได้ตามสัญญานั้น กิจการต้องพิจารณาความเป็นไปได้ของประมาณการรายได้ที่มาจากค่าตอบแทนผันแปรที่รับรู้สะสมอยู่ในรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้าจะไม่ถูกกลับรายการอย่างมีนัยสำคัญเมื่อความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทนผันแปรได้สิ้นสุดลงภายหลัง

ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กิจการควรมีการพิจารณาการประเมินประมาณการค่าตอบแทนผันแปรผลตอบแทนรับรู้เป็นรายได้ให้เป็นปัจจุบันเพื่อให้การรายงานทางการเงินของงบการเงิน ณ วันสิ้นงวดมีความโปร่งใสและสอดคล้องกับสถานการณ์ระหว่างกาลที่ได้เปลี่ยนแปลงไป กิจการอาจจำเป็นต้องพิจารณาผลกระทบของสถานการณ์ COVID-19 ที่อาจมีต่อค่าตอบแทนผันแปร ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

แหล่งที่มา :

  1. https://www.tfac.or.th/Article/Detail/124765
  2. Consequences of Covid – 19 Financial Reporting Considerations Center for plain English Accounting , AICPA’s National A&A Resource Center
  3. Financial Reporting Alert 20-1 March 5, 2020 Deloitte Accounting Research Tool
  4. IFRS republication

สรุปความแตกต่างของ Accounting Software กับ Consolidation Software

All rights reserved – Copyright © 2021 PWL Consulting Services Limited

PWL ได้สรุปความแตกต่างของ accounting software และ consolidation software เพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น

เมื่อโลกยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนไปอย่างมาก หลากหลายองค์กรมีการพัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว (ทั้งการลงทุน/ซื้อในบริษัทอื่น และมีบริษัทในเครือจำนวนมาก) อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ digitization มากขึ้น ดังนั้นจะดีกว่ามั้ย หากว่าองค์กรนำ consolidation software มาช่วยในการทำงบการเงินรวมของบริษัท เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการได้มาซึ่งตัวเลขงบการเงินรวม เพื่อใช้ในประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร

“More Time, More Confidence, More Reliable, More Traceability, Connecting Past, Present and Future”

มาเปลี่ยน คำว่า “งบการเงินรวม” ที่แสนจะ “ยาก” ให้กลายเป็นคำว่า “ง่าย” โดยพริบตาเดียว

เชื่อว่าหลายๆ คน พอได้ยินคำว่า “งบการเงินรวม” แล้วก็จะกลัว คิดว่ายากบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง หลายครั้งที่พอพูดถึงเรื่องนี้ ส่วนใหญ่แล้วทุกคนจะบอกว่ายากมาก ไม่เข้าใจ เนื่องจากว่างบการเงินรวมนั้นเป็นการบัญชีขั้นสูง ซึ่งก็มีความยากในระดับนึงที่หลายๆ คนไม่ค่อยชอบ และไม่เข้าใจ

แต่ในวันนี้เราจะมาเปลี่ยน Mindset ของทุกๆ คน ให้มองคำว่า “งบการเงินรวม” เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น

การที่ผู้ถือหุ้น หรือ คนที่ใช้งบการเงินรวมนั้นมองมาที่บริษัท ที่มีบริษัทในเครือจำนวนมากนั้น ก็คงอยากจะเห็น performance ของกลุ่มบริษัทในเครือนั้นจริงๆ ดังนั้นหลักการของงบการเงิน ก็คือการนำเอา performance ของกลุ่มบริษัทในเครือนั้นๆ มารวมแสดงในงบการเงินรวม แต่หากว่าต้องตัดพวกรายการที่เกี่ยวข้องกันออกให้หมด เพื่อที่เวลาแสดง performance หรืองบการเงินรวมนั้น จะได้เป็นตัวเลขที่ถูกต้องจริงๆ ไม่ได้เป็นเลขที่ double กันไปมาระหว่างบริษัท แต่ถ้าหากไม่ตัดรายการระหว่างกันพวกนั้นออกหล่ะก็ อาจจะทำให้แสดงรายการบางประเภทที่สูงเกินความเป็นจริงได้

ยกตัวอย่าง ครอบครัวนึง ที่ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และ ลูก โดยรายได้หลักมาจากพ่อที่ทำงานประจำ แม่ไม่มีรายได้ และ ลูกมีรายได้จากพ่อให้รายเดือน หากจะดู performance ของครอบครัว (บริษัท)นี้ ก็ควรที่จะนำรายได้ของทั้ง 3 คนมารวมกันถูกต้องมั้ย…แต่ในหลักการของงบการเงินรวมควรมองรายได้ที่แท้จริงของครอบครัวนี้ คือ ควรมีเท่าไหร่จริงๆ นั่นก็คือ รายได้จากที่พ่อได้จากงานประจำเท่านั้น ไม่นับรวมรายได้ของลูกที่พ่อให้เป็นรายเดือน

ทุกวันนี้เชื่อว่าหลายบริษัทจะทำงบการเงินรวม โดยการ ตั้ง working file บน Excel เสร็จแล้วจะนำ บริษัทลูกมาเรียงต่อกัน หลายๆ column บน Excel เสร็จแล้วคนที่มีหน้าที่ทำ consolidation จะทำหน้าที่รวม หรือ summation all companies (อย่างเช่นตัวอย่างข้างบนก็คือ การเอารายได้ของ พ่อ แม่ ลูก มารวมกัน แต่…แม่ไม่มีรายได้ T___T) และ บวกลบ ด้วยรายการที่เป็น รายการระหว่างกัน (จากตัวอย่างก็คือ เงินที่พ่อให้ลูกทุกเดือน ก็เปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายฝั่งพ่อ และเป็น รายได้ฝั่งลูก) ถ้าในชีวิตจริงของทุกคน มีแค่ 3 รายการ ตามที่ยกตัวอย่างก็ดูง่ายใช่มั้ยหล่ะ?

แต่ !! ในชีวิตจริง สิ่งที่คนทำงบการเงินรวมจะเจอกันบ่อยๆ เช่น รายการระหว่างกันมีเยอะมาก และบางทีตัวเลขก็ไม่ตรงกัน (เช่น พ่อบอกว่าให้เงินลูก 100 บาท แต่ลูกบอกว่าได้รับแค่ 80 บาท ….. ตึ่งโป๊ะ !!) หรือมีจำนวนบริษัทลูกที่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ นี่ยังไม่พูดถึงการถือหุ้นแบบโครงสร้างที่ซับซ้อน ไขว้ไปไขว้มา หรือว่า การที่มีมาตรฐานการบัญชีมาใหม่ๆเกิดขึ้น แล้วทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยน worksheet Excel อีกทั้งจะต้องเพิ่ม row&column มาอีกจำนวนมาก

สิ่งเหล่านี้นักบัญชีมือเทพทั่วไปสามารถรับมือได้อยู่แล้ว แต่ก็ยังจำเป็นต้องใช้เวลาในระดับนึง เพราะต้องมานั่งทำมือ (manual) ใน Excel file และทุกคนน่าจะรู้ดีว่าหากมีตัวเลขผิด อาจจะต้องใช้เวลาในการหาที่มา ซึ่งอาจจะใช้เวลานานกว่าตอนทำซะอีก แต่…จะดีกว่ามั้ยที่เราจะเปลี่ยนแปลงการทำสิ่งเหล่านี้ให้เป็นระบบ (systematic) มากยิ่งขึ้น โดยใช้ tools ที่มีประสิทธิภาพมาช่วย ทำให้เราสามารถเอาเวลาไปทำงานอื่นๆ ที่เพิ่มมูลค่าให้กับตัวเอง และองค์กรมากขึ้น หรืออาจจะสามารถมีเวลาที่มากขึ้น เกิด work life balance อย่างที่คนในยุคปัจจุบันต้องการ

การทำให้เรื่องของ “งบการเงินรวม” ง่ายและเร็วขึ้น ลดการเกิดข้อผิดพลาด ช่วยในการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับยุค Digitization ทุกวันนี้ก็คงหลีกไม่พ้นถึงการนำ Consolidation Software เข้ามาช่วยในการทำงาน ขอเน้นย้ำว่าเป็น Consolidation Software ไม่ใช่ Accounting Software นะจ๊ะ เพราะไม่เหมือนกัน

เพื่อนๆคนไหน เคยมีปัญหาเกี่ยวกับการทำงบการเงินรวมบ้าง ลองมาแชร์ประสบการณ์กันได้ นะจ๊ะ โดย DM มาได้ทั้งทาง Email, Linkedin, Facebook

#change #consolidation #solutions

คุณเคยฝันร้ายเกี่ยวกับ Excel หรือไม่ ?

เคยมั้ยที่มีข้อมูลมากมายอยู่บน Excel หลายๆ spreadsheet อีกทั้งเราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อมูลนั้น update หรือไม่? มีคน edit หรือ delete ข้อมูลนั้นไปหรือยัง? หรือว่าเวลาทำงานบน Excel ที่มีข้อมูลจำนวนมากแล้ว file error และปิดตัวลงแบบที่ยังไม่ได้ save the latest version

การทำงานบนข้อมูลที่มากขึ้นทุกวันมักมีข้อจำกัดบน Excel อาจจะทำให้มี error หากไม่มีการจัดการ และ ควบคุมที่ดีพอ นำมาซึ่งการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ อีกทั้งการทำงานบน Excel อาจจะใช้เวลามากกว่าเมื่อเทียบกับทำงานแบบ automated by system ซึ่งคุณจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันท่วงทีในการนำเสนอต่อผู้บริหารในการตัดสินใจบางอย่างได้

Excel ยังมีปัญหาอีกมากมาย องค์กรอาจจบลงด้วยฝันร้ายของ Excel !

เชื่อว่าที่ผ่านมา เกือบๆ ทุกบริษัทได้มีการลงทุนใน ERP หรือ ระบบ Core Business ต่างๆ เช่น CRM ซึ่งบริษัทเหล่านั้นจะมีจำนวนข้อมูลจำนวนมากมายอยู่แล้ว และในยุคปัจจุบัน มีความคิดริเริ่มด้านการแปลงข้อมูลเป็นดิจิทัลภายในองค์กรมากขึ้น เช่น การใช้โดรน หุ่นยนต์อัจฉริยะ แว่นตาอัจฉริยะสำหรับการหยิบสินค้า โดยนักวิเคราะห์ของ IDC (International Data Corporation) คาดการณ์ว่าข้อมูลขององค์กรจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในทุกๆ 18 เดือน สิ่งหนึ่งที่เราทราบ คือ งบประมาณด้านไอทีไม่ได้เพิ่มเป็น 2 เท่าทุกๆ 18 เดือน ดังนั้น เราจะต้องมีวิธีการจัดการกับข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เราทราบดีว่าหากองค์กรใดมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างชาญฉลาดจะเป็นสามารถเป็นผู้ชนะการแข่งขันในตลาดได้

จากการที่ปริมาณของข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีคนที่ต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น และรวดเร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเป็นเพียงแค่แหล่งที่มา (source) เท่านั้น ดังนั้นการใช้ Excel เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถตอบสนองกับความต้องการที่กล่าวไปข้างต้นได้

โชคดีที่ปัจจุบันมี new innovative software มากมายและองค์กรสามารถใช้ประโยชน์จาก software เหล่านั้นมาช่วยในการบริหารจัดการกับข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ธุรกิจ อีกทั้งการให้บริการจากผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์สมัยใหม่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากอดีต เช่น เรื่องของการใช้ระยะเวลา implement ที่สั้นลง เกิด achievement ที่สูงขึ้น, การที่สามารถแสดงผลของข้อมูลได้อย่าง real time เมื่อคำนึงถึงการประยุกต์และนำมาใช้งาน ในระยะยาวจะทำให้องค์การสามารถลดต้นทุนหลายอย่างไปได้ มี ROI ที่สูงขึ้น

เช่นเดียวกัน หากมองในมุมของ Accounting & Finance ขององค์กร เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเชื่อว่าผู้บริหารต้องการใช้ตัวเลขเพื่อวิเคราะห์ performance, target achievement, KPIs, OKRs, ขององค์กร ดังนั้นหากคุณกำลังเผชิญปัญหาเหล่านั้นอยู่ในเรื่องการทำงบการเงินรวม (Consolidation & Reporting) หรือการจัดทำงบประมาณ (Budgeting & Planning) สามารถปรึกษาเราได้ (https://pwlconsultings.com/contact/) เพื่อนำ solution software มาช่วยในการจัดการและแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดขององค์กร

#automatedsoftware #pwlconsultings

Cloud คือ อะไร

“Cloud” หรือที่ย่อมาจาก “Cloud Computing (การประมวลผลระบบคลาวด์)” คือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Host บริการผ่านอินเทอร์เน็ต (internet) ช่วยให้ผู้ใช้งาน (user) สามารถ จัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการ และ จัดการข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาจมีค่าใช้จ่ายบางส่วนขึ้นอยู่กับขนาดและระบบของ Host ออนไลน์โดยมีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงใหญ่มาก

เมื่อคุณอัพโหลดข้อมูลไปยัง Cloud ผ่านเซอร์วิสต่างๆ (เช่น OneDrive) ไฟล์ของคุณจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปยังเซอร์เวอร์ที่จับต้องได้ และมีอยู่จริง ซึ่งเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ Cloud นั้น ซึ่งมีจำนวนหลายเครื่อง เพื่อให้บริการจัดเก็บข้อมูลทั้งโลก ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า Server Farms

ดังนั้น พูดง่ายๆก็คือ Cloud เป็นกลุ่มเครื่อง Server และ ศูนย์ข้อมูลเพื่อให้บริการเก็บข้อมูลรอบโลก โดยพื้นฐานคือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิตอล ที่คุณสามารถเก็บไฟล์งานต่างๆ ได้ โดยแตกต่างไปจาก Storage รูปแบบอื่นๆ (เช่น External Harddisk, Flashdrive และ อื่นๆ) คือคุณไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เชื่อมต่อกับเครื่อง เพียงแค่อุปกรณ์ของคุณสามารถเข้าถึง Internet ได้ คุณก็สามารถเข้าถึง Cloud ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก

Cloud Functions

ฟังก์ชั่นพื้นฐานของ Cloud คือ การทำหน้าที่เก็บข้อมูลแบบ Digital Online แต่ ความสามารถที่แท้จริงของ Cloud นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฟังก์ชั่นหลัก ประกอบด้วย

  1. Infrastructure as a Service (IaaS)
  2. Platform as a Service (PaaS)
  3. Software as a Service (SaaS)

Infrastructure as a Service (IaaS)

คือ การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (Infrastructure) และระบบการจัดเก็บข้อมูลขององค์กร (Storage) เพื่อรองรับการใช้งาน Software และ Application เช่น Microsoft Azure, Google Drive For Business, Amazon Web Services เป็นต้น

Website เกือบทุกเว็บบนโลกนี้ ก็มีการ Host ผ่านโมเดล IaaS เช่นกัน

Platform as a Service (PaaS)

คือ การให้บริการด้าน Platform สำหรับผู้ใช้งานที่ โดยผู้ให้บริการ Cloud จะจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาเอาไว้ให้ เช่น ระบบฐานข้อมูล (Database) และ ระบบ Web Application เป็นต้น

Software as a Service (SaaS)

คือ การให้บริการด้าน Software และ Application ผ่านทางอินเทอร์เน็ต คล้ายกับการเช่าใช้ คิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งาน เช่น Microsoft Office 365, Gmail, Salesforce เป็นต้น

Cloud Types

หากเจาะลึกเข้าไปอีกเกี่ยวกับ Cloud เราจะสามารถแบ่งประเภทของมันออกได้ทั้งหมด 4 ประเภท โดยหลักๆ ใช้วิธีแบ่งจากขอบเขตการเข้าถึงของผู้ใช้ ที่ผู้จัดหากำหนดให้เป็นหลัก คือ

  • Public Clouds
  • Private Clouds
  • Hybrid Clouds
  • Multi Clouds

Public Cloud

คือ ผู้ให้บริการ หรือ Third-Party จะเป็นคนตั้ง Hardware และ Software ขึ้นมา และให้แต่ละองค์กรเข้าไปเช่าใช้บริการ อาจจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปี เช่น Microsoft Azure, vCloud Air

ข้อดี : ไม่ต้องลงทุนค่าใช้จ่ายในการตั้ง Cloud Datacenter เป็นของตัวเอง

ข้อเสีย : อาจไม่ผ่าน IT Policy Audit ในบางบริษัท เช่นบางบริษัท ห้ามเก็บข้อมูลไว้ภายนอกองค์กร

Private Cloud

คือ องค์กรแต่ละองค์กรจะตั้ง Hardware และ Software ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการทำ Cloud Datacenter ขึ้นมาเป็นของตัวเอง เพื่อให้แต่ละแผนกในองค์กรสามารถเข้ามาขอใช้งานได้

ข้อดี : ข้อมูลมีความปลอดภัย เนื่องจากเก็บอยู่ภายใน Datacenter ของตัวเอง

ข้อเสีย: มีค่าใช้จ่ายในเรื่องของการลงทุนด้าน Hardware และ Software

Hybrid Cloud

การรวมกันระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud ผู้ใช้จึงสามารถได้ประโยชน์ทั้งในความเป็นส่วนตัว และความสะดวกสบาย เช่น เลือกเก็บข้อมูลสำคัญที่เป็นความลับใน Private Cloud แต่เก็บข้อมูลทั่วไปจำนวนมากใน Public Cloud ซึ่งเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการได้มากขึ้นและอุดข้อเสียของทั้ง 2 รูปแบบนั้นได้

Multi Cloud

เกิดขึ้นเมื่อองค์กรเลือกใช้งานแต่ Cloud ประเภท Public Cloud หลายๆ เจ้ารวมกัน ต่างจากแบบ Hybrid ที่มีการใช้งานผสมกันระหว่างแบบสาธารณะและส่วนตัว รูปแบบนี้เกิดขึ้นเพราะผู้ให้บริการ Public Cloud แต่ละเจ้า มีข้อดีและเซอร์วิสที่แตกต่างกัน ผู้ใช้จึงเลือกใช้บริการจากหลายๆ ที่ เพื่อครอบคลุมฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์ทั้งหมด

Cloud Benefits
ประโยชน์ของ Cloud ต่อกลุ่มผู้ใช้งานระดับธุรกิจ

Cloud Computing นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นส่วนขับเคลื่อนสำคัญในองค์กร คือ การพัฒนาผลผลิต, ประสิทธิภาพ, การเติบโต และ ความทันสมัยขององค์กร ตัวอย่างประโยชน์หลักๆ 6 หัวข้อดังต่อไปนี้

  • ลดต้นทุน

การลงทุนในอุปกรณ์ต่างๆ สามารถสร้างต้นทุนมหาศาลแก่ธุรกิจได้ การดูแลรักษาและปรับปรุงอุปกรณ์ไอทีนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับ Cloud และ การที่ชำระเงินแค่ส่วนที่เช่าใช้เท่านั้น ช่วยให้ลดต้นทุนให้น้อยลง ไม่เพียงแต่ในส่วน Hardware เท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าแรงในการจ้างผู้เชี่ยวชาญ ค่าเช่าพื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์ และค่าไฟอีกด้วย

นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อได้เปรียบ คือ การประหยัดเวลาในการแก้ไขเมื่ออุปกรณ์มีปัญหา

  • กู้คืนความเสียหาย

การบันทึกข้อมูลสำคัญใน Cloud นั้น มีความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูง การที่เราเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์ Hardware เพียงชิ้นเดียวนั้น มีความเสี่ยงพอสมควร เพราะหากเกิดปัญหากับตัวอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ไฟไม่เข้า ไปจนถึงถูก Malware ทำลาย ก็มีสิทธิที่ข้อมูลของผู้ใช้จะหายไปตลอดกาลในขณะที่ Cloud จะมีบริการ Backup ข้อมูลของผู้ใช้ด้วยเซอร์เวอร์จำนวนมากในหลายๆ พื้นที่

  • ระบบรักษาความปลอดภัย

หลายๆ คน อาจจะไม่เชื่อ ว่าจริงๆ แล้ว Cloud Computing นั้นมีระบบ Security ที่ยอดเยี่ยม ผู้ใช้งานอาจคิดว่าการเก็บข้อมูลสำคัญไว้กับอุปกรณ์ที่จับต้องและมองเห็นได้เองมีความปลอดภัยกว่า แต่อยากให้เห็นภาพว่า จริงๆแล้ว Cloud ก็เปรียบเสมือนธนาคาร ผู้บริการ Cloud ส่วนใหญ่จะเน้นความปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการให้บริการ ข้อมูลที่รับจะถูกเข้ารหัส ปกป้องเป็นอย่างดี โดยบางรายยังเปิดให้ผู้ใช้งานเข้าไปตั้งค่าระบบ Security ได้เองอีกด้วย

  • พื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่น

Cloud นั้นมีความสามารถที่จะปรับขยายเพิ่มพื้นที่ได้ ช่วยให้บริษัทที่มีการเติบโต สามารถขยายพื้นที่เก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา ในทางตรงกันข้าม สำหรับองค์กรที่มีการลดขนาดการใช้งานพื้นที่เก็บข้อมูลลดลง ก็สามารถปรับพื้นที่ให้ลดลงได้ แต่หากมีการใช้อุปกรณ์ Hardware เป็นตัวเก็บข้อมูล ก็เป็นเรื่องยากที่จะขายพื้นที่ส่วนเกินออกไป

  • ทำงานได้ทุกสถานที่

เพราะข้อมูลทุกอย่างถูกบันทึกใน Cloud ทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่สำคัญ คือ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ถ้ามีอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามบนโลก ด้วยรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน และด้วยผลกระทบของ COVID-19 ทำให้เน้นการทำงานที่เน้นความยืดหยุ่นในสถานที่ทำงานมากขึ้น หรือการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home : WFH) ระบบ Cloud จึงทำหน้าที่สำคัญในการเข้ามาช่วยสนับสนุนแนวคิดนี้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่านอุปกรณ์อื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น

  • การทำงานร่วมกัน

ช่วยการพนักงานทุกคนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น เพราะไฟล์ต่างๆ ที่จัดเก็บสามารถเข้าถึงได้ทุกคน (หรือเฉพาะคนที่ตั้งค่าอนุญาต) ด้วยระบบ Cloud บริษัทสามารถสร้างทีมที่มีสมาชิกหลายคน ทำงานในไฟล์เดียวกัน พร้อมกัน ในสถานที่ที่ต่างกันได้ ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการ บริหาร และ จัดการการทำงานแบบเป็นทีมได้ง่ายขึ้น

ประโยชน์ของ Cloud ต่อกลุ่มผู้ใช้รายบุคคล

นอกเหนือจากชีวิตการทำงาน คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก Cloud ได้อย่างมากมาย สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ การประหยัดเนื้อที่เก็บข้อมูลดิจิตอล หากใครที่ไม่ได้ใช้ Cloud เมื่อต้องการเซฟไฟล์ จะต้องบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงอุปกรณ์ Hardware ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค หรือ สมาร์ทโฟน เป็นต้น

ในวันใดวันหนึ่ง หากอุปกรณ์มีความจุที่เต็มแล้ว ผู้ใช้อาจจะแก้ไขได้ด้วยการซื้อ External Hard Drive มาใช้งาน ซึ่งถ้าเต็มอีก ก็ต้องซื้อเพิ่มอีกเรื่อยๆ สะสมไว้มากมาย จนในที่สุด ก็ยากต่อการจัดการข้อมูลเก่าๆ ที่เคยบันทึกสะสมมาไว้

การที่ข้อมูลทุกอย่างถูกจัดเก็บไว้ในที่ที่เดียว ซึ่งไม่กินเนื้อที่จริงๆ ในชีวิตประจำวัน ช่วยให้การจัดการทุกอย่าง ควบคุมได้ง่ายมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ Hardware ด้วย นอกจากนี้ การที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ถูกบันทึกข้อมูลให้แน่นจนเกินไป ก็จะมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้นด้วย

ในขณะเดียวกัน ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานผ่าน Cloud อาทิเช่น Dropbox Paper ยังช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดระยะเวลาในการดาวน์โหลดและติดตั้งสู่ตัวเครื่อง ซึ่ง Software ส่วนใหญ่ที่ใช้ระบบ Cloud จะมีข้อดี คือ สามารถเข้าถึงและใช้งานได้จากอุปกรณ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Mobile Apps หรือ Web Base

ประโยชน์ของ Cloud นั้น มีมากมายอย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในรูปแบบใดก็ตาม คือ องค์กรขนาดใหญ่, SME หรือบุคคล ถือเป็น Technology ที่ช่วยเพิ่มผลลัพธ์, พัฒนาองค์กร, สร้างเสริมการทำงานร่วมกัน และ ประหยัดค่าใช้จ่าย ในขณะที่ปกป้องข้อมูลของผู้ใช้ได้อย่างปลอดภัย

#CLOUD

ปัจจัยในการพิจารณาการลงทุน software สำหรับองค์กร

ในการเลือกลงทุนในเทคโนโลยีอันใดอันหนึ่ง สิ่งที่กิจการควรให้ความสำคัญนอกเหนือจากเรื่อง feature & function ที่เห็นแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาไปพร้อมกัน ประกอบไปด้วย

1. แผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะยาว: โดยปกติ บริษัท software ส่วนใหญ่จะมีแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระยะ 3-5 ปี ว่าผลิตภัณฑ์จะมีพัฒนาปรับปรุงต่อหรือไม่ และไปในทิศทางใด (on-premise or on-cloud) บางบริษัทเน้นพัฒนาและทำการตลาดในด้านใดด้านนึงเป็นหลัก หรือ การพัฒนา technology ใน 2 ส่วนนี้ไปกันคนละทาง(บางครั้งบน platform เดียวกัน ก็มีการพัฒนา version ใหม่ไปในทางใหม่, technology ใหม่ เช่นกัน) จนบางครั้งอาจลืมคำนึงถึงหากวันนึงลูกค้าต้องการเปลี่ยน platform เช่น จาก on-premise ไป SaaS หรือแม้แต่การ upgrade บน platform เดิมแต่ technology มีการเปลี่ยนไป ก็อาจสร้างความยุ่งยากให้กับลูกค้ารวมถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับลูกค้าเช่น ต้องลงทุนในเครื่อง server, software อื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องมีการทำ re-implement ใหม่ เป็นต้น

2. On-premise vs on-cloud: software สำหรับองค์กรโดยหลักจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ on-premise (การติดตั้งระบบทุกอย่างบน server ของกิจการ) และ on cloud หรือ SaaS (Software-as-a-Service) ซึ่งในมุมเทคโนโลยีปัจจุบัน บริษัท software ส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและขยายตลาดในส่วนของ SaaS เป็นสำคัญ ทำให้การเลือก software นอกจากคำนึงว่าเป็นของบริษัทใดแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการเลือกว่าควรเป็นประเภท on-premise หรือ SaaS เพราะจะมีผลหลายๆอย่างตามมาเช่น ต้นทุนในการดูแลระบบ (เครื่อง server, บุคลากร, ระบบความปลอดภัย รวมถึงแผนการกู้คืนระบบเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน(Disaster Recovery plan)), version ที่เลือกใช้ รวมถึงระยะเวลาในการ support ที่จะกล่าวในเรื่องถัดไป

3. Version & support: ในส่วนนี้ควรจะต้องถูกใช้ในการพิจารณาหากกิจการมีการเลือกใช้ on-premise platform (เพราะโดยปกติหากกิจการมีการเลือกใช้ SaaS จะได้ใช้ software ที่เป็น version ล่าสุดอยู่แล้ว และแทบไม่ต้องคำนึงถึงเรื่อง version เพราะหากมีการ update version ใหม่ กิจการก็จะสามารถใช้งานบน version ใหม่โดยอัตโนมัติ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และลดความเสี่ยงในหลายๆส่วนที่จะกล่าวถัดไป หรือต้นทุนในการดูแลระบบ ซึ่งบริษัท software จะเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้) โดยปกติสำหรับ software ประเภทองค์กร จะมีการกำหนดช่วงเวลาสิ้นสุดในการ support (end of support) ไว้ ซึ่งหลังจากการสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว จะไม่มีการพัฒนาหรือแก้ปัญหาใดๆใน version นั้นต่อ ทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องเหล่านี้ตามมา เช่น ความเข้ากันได้กับ software ตัวอื่นที่ใช้งานร่วมกัน เช่น operating system บน server(windows, linux or etc), database, web browser, หรือแม้แต่โปรแกรม MS office ที่ใช้ในการทำงานเป็นส่วนใหญ่ และส่วนสำคัญที่สุดคือในเรื่องของความปลอดภัยของตัวระบบและข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากสำหรับ software ประเภทองค์กร นอกจากนี้ระยะเวลาสิ้นสุดการ support ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากลูกค้าเลือก version ที่จะสิ้นสุดระยะเวลาการ support ในปีปัจจุบันหรือภายใน 1-2 ปี หมายความว่าเมื่อระบบขึ้นเรียบร้อยแล้ว จะสามารถใช้ระบบไปได้ในระยะเวลาไม่นาน ลูกค้าอาจมาถึงทางเลือกอีกครั้ง โดยสุดท้ายลูกค้ามีทางเลือกอยู่ 3 ทาง 1) ไม่ upgrade โดยรับความเสี่ยงที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ทั้งหมด 2) upgrade เป็น version ใหม่ โดยปกติกิจการจะต้องเรียก vendor ที่ทำการ implement ให้มาช่วย upgrade (ภาพรวมต้นทุนโครงการเพิ่มขึ้น) 3) เปลี่ยนไปใช้ SaaS platform หรือ software อื่น ซึ่งต้องทำการ re-implement ใหม่ (ต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก)

 4. Vendor: ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง เนื่องจากผู้ที่จะเข้ามาให้บริการ ไม่ใช่เพียงแต่นำเสนอสินค้าของตัวเองเท่านั้น Vendor ที่ดีมีหน้าที่ให้คำแนะนำในเรื่องภาพรวมของเทคโนโลยี, platform และ version ที่ควรจะใช้ รวมถึงการจัดวางตัว software เข้ากับ IT roadmap ของลูกค้า เพื่อให้แน่ใจว่า software ที่จะนำมาใช้ไม่ตกรุ่นเร็วเกินไป รวมถึงประโยชน์ในส่วนของต้นทุนโครงการระยะยาว (total cost of ownership) เพื่อเป็นประโยชน์แก่ลูกค้ามากที่สุด 


#Softwareselection #CorporatePerformanceManagement